วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

plc

PLC คืออะไร?Programmable Logic Controller เครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้
PLC : Programmable Logic Controller (มีต้นกำ เนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นเครื่องควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม
ที่ สามารถจะโปรแกรมได้ ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนวงจรรีเลย์ อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากจะได้เครื่องควบ คุมที่มีราคาถูกสามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย
 ข้อแตกต่างระหว่าง PLC กับ COMPUTER1. PLC ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นเพื่อให้ทนต่อสภาพแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ
2. การโปรแกรมและการใช้งาน PLC ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป PLC มีระบบการตรวจสอบตัวเองตั้งแต่ช่วงติดตั้ง
    จนถึงช่วงการใช้งานทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย
3. PLCถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการตัดสินใจสูงขึ้นเรื่อยๆทำให้การใช้งานสะดวกขณะที่วิธีใช้คอมพิวเตอร์ยุ่งยากและซับซ้อนขึ้น

ประวัติ PLC ค.ศ.1969
            PLCได้ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกโดย บริษัท Bedford Associates โดยใช้ชื่อว่า Modular Digital Controller(Modicon) ให้กับโรงงานผลิตรถยนต์ในอเมริกาชื่อ General Motors Hydramatic Division บริษัท Allen-Bradley ได้เสนอระบบควบคุมโดยใช้ชื่อว่า PLC
ค.ศ.1970-1979
            ได้มีการพัฒนาให ้PLC มีการ ประมวลผลที่เร็วมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของ Microprocessor ความสามารถใน การสื่อสารข้อมูลระหว่าง PLC กับ PLC โดยระบบแรก คือ Modbus ของ Modicon เริ่มมีการใช้อินพุท/เอาท์พุทที่เป็นสัญญาณ Analog
ค.ศ.1980-1989
            มีความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานใน การสื่อสารข้อมูลของ PLC โดยบริษัท General Motor ได้สร้างโปรโตคอลที่เรียกว่า manufacturing automation protocal (MAP) ขนาดของ PLC ลดลงเรื่อย ๆผลิตซอฟแวร์ที่สามารถโปรแกรม PLC ด้วยภาษา symbolic โดยสามารถโปรแกรมผ่าน ทาง personal computer แทนที่จะโปรแกรมผ่านทาง handheld หรือ programing terminal
ค.ศ.1990-ปัจัจจุบัน
           ได้มีความพยายามในการที่จะ ทำให้ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรม PLC มีมาตราฐานเดียวกันโดยใช้ มาตรฐาน IEC1131-3 สามารถโปรแกรม PLC ได้ด้วย
                    - IL (Instruction List)
                    - LD (Ladder Diagrams)
                    - FBD (Function Block Diagrams)
                    - SFC (Sequential Function Chart)
                    - ST (Structured Text)

เครื่องจักร nc


รายชื่อสมาชิกในห้อง

อาจารย์ ธภัทร   ชัยชูโชค              อาจารย์ผู้สอน
นาย   สมศักดิ์  สามสูวรรณ์            มุก
นาย   สุทธิพงษ์  จันทร์บัว             แม็ก
นาย   ทวีชัย   สุวรรณตานนท์        ปอน
นาย   กิตติพง   สิบมอง               แบ็ค
นาย   พรชัย   ชูสุวรรณ์               บอล

บทควาทางเทคโนโลยีการสื่อสาร

โลกปัจจุบันกล่าวได้ว่าเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร  คนในโลกปัจจุบันต้องรับข้อมูลข่าวสารที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา  ข้อมูลที่รับเข้ามานั้น มีทั้งข้อมูลที่มีประโยชน์และข้อมูลที่ไร้ค่า  บุคคลจึงต้องมีความสามารถไม่เพียงแต่การรับข้อมูลหรือสื่อสารเท่านั้น  แต่จะต้องมีความสามารถในการเลือกสรร คัดกรอง และเข้าถึงข้อมูลที่เป็นจริง  และสามารถเลือกนำข้อมูลสาระมาสู่การสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่ตนเอง การให้การศึกษาเพื่อสร้างความสามารถดังกล่าวให้แก่เด็ก  จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คนได้รับการพัฒนาและพร้อมรับกับการเปลี่ยน แปลงของโลกที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

ผลกระทบต่อเด็กปฐมวัย
โลกแห่งข่าวสารข้อมูลนั้น  มีผลกระทบต่อเด็กปฐมวัยหลายประการ ดังนี้
1.  การพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร  ทั้งการรับสารและการส่งสาร  ทั้งนี้ มิใช่เฉพาะด้านที่ใช้ติดต่อสื่อสารเท่านั้น  แต่รวมทั้งการรับสารที่มาจากช่องทางที่หลากหลายขึ้นจากเดิม
2.  การพัฒนาความสามารถในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งเด็กจะต้องได้รับการฝึกฝนให้มีทักษะในการสืบค้นในแนวทางต่างๆที่เพิ่ม ขึ้นจากเดิม ดังนี้
2.1  การรู้จักวิธีสืบค้นด้วยวิธีการต่างๆ
2.2  การแสวงหาข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง
2.3  การรู้จักกลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับ
ผู้ใหญ่จะช่วยเตรียมเด็กให้อยู่ในยุคดังกล่าวได้อย่างไร
ผู้ใหญ่มีหน้าที่ในการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้และพร้อมที่จะก้าวไป สู่สังคมที่มีสภาพแวดล้อมต่างๆได้อย่างมั่นคง  ในโลกยุคข่าวสารข้อมูล  เด็กปฐมวัยต้องได้รับการจัดประสบการณ์เพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการเรียน รู้  โดยผู้ใหญ่สามารถจัดเตรียมประสบการณ์ให้เด็ก ดังนี้
1.  การพัฒนาให้เด็กมีความสามารถด้านการสื่อสารอย่างเต็มที่ในช่วงวัย โดยเฉพาะการใช้ ภาษาแม่ ( ภาษาไทย )ที่เข้มแข็ง  สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจ  และพร้อมในการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆได้อย่างถูกต้องด้วยเช่นกัน
2.  การสร้างความคุ้นเคยและรับรู้ภาษาของเด็ก ทั้งวจนภาษา และภาษาสัญลักษณ์ต่างๆ โดยใช้วิธีการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ((Whole language)
3.  การให้โอกาสและการสนับสนุนให้เด็กใช้วิธีการสืบค้นข้อมูลด้วยวิธีที่หลากหลาย รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีต่างๆที่มีในชีิวิตประจำวัน
เด็กปฐมวัยกับการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษาในความหมายทั่วไป หมายถึงเครื่องมือ เครื่องใช้ที่เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ในการสนับสนุนการจัดการศึกษา ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีทัศน์  เครื่องเล่นและเครื่องบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพดิจิตอล ฯลฯ และช่วยในการเรียนรู้แบบต่างๆ ซึ่งในปัจจุบัน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการรับและส่งสารต่างๆ และมีผลต่อการศึกษา โดยเป้าหมายของการศึกษาได้เพิ่มมิติด้านเทคโนโลยีเข้าไปด้วย  เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีและปรับตัวเข้ากับ สังคมแห่งเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม  ดังนั้น หน้าที่ของสังคม  ครอบครัว และครู คือการให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี ไม่กลายเป็นผู้มีช่องว่างของเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการขาดโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆอย่างทันต่อเหตุการณ์
ในปัจจุบันเด็กปฐมวัย  ได้เจริญเติบโตขึ้นมาในโลกของเทคโนโลยีและได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ใน สถานศึกษาอย่างแพร่หลาย  ทั้งในแง่ของการใช้เพื่อการจัดการข้อมูลและใช้ในการศึกษา  และที่กล่าวถึงโดยทั่วไป  เทคโนโลยีที่นำมาใช้มากกับเด็กปฐมวัยปัจจุบันคือ คอมพิวเตอร์
ในวงวิชาการ การศึกษาปฐมวัยได้มีการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในเด็ก ปฐมวัยไว้ทั้งด้านบวกและด้านต่างออกไป  ดังความเห็นของสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา  ได้แสดงความคิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กับเด็กปฐมวัยไว้ว่า  แม้จะมีผลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงผลในเชิงบวกของการใช้เทคโนโลยี  โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาการของเด็ก  แต่ขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นว่า  การนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดกิจกรรมนั้น  ยังไม่แสดงถึงคุณค่าที่มีต่อการพัฒนาเด็กเทียบเท่ากับกิจกรรมอื่นๆ เช่น กิจกรรมศิลปะ การเล่นบล็อก เล่นน้ำ เล่นทราย  หนังสือ กิจกรรมสมมติ ฯลฯ  ที่จัดอยู่ตามปกติในชั้นเรียนของเด็ก  และมีข้อคิดเห็นว่า  ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนา เด็ก  แต่ก็มีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสมและอาจให้ผลตรงข้ามกับที่คาด หวังไว้  สิ่งสำคัญในการนำคอมพิวเตอร์มาเป็นกิจกรรมหรือเครื่องมือสำหรับเด็ก คือ ซอฟแวร์ ที่ต้องมีการเลือกสรรอย่างดี  คัดเลือกที่จะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้และการคิดสร้างสรรค์  ดังนั้น จึงเสนอแนะว่า  นักวิชาการหรือผู้ปฏิบัติงานกับเด็ก  จะต้องใช้ดุลยพินิจอย่างมากในการคัดเลือก ซอฟแวร์ที่มีคุณภาพ รวมทั้งการใช้วิธีการที่เหมาะสมในการนำคอมพิวเตอร์ไปสู่การเรียนรู้ของเด็ก  และจัดเวลาของการเล่นให้มีความสมดุล มีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องเล่นชนิดอื่นๆในห้องเรียน
ข้อแนะนำในการนำเทคโนโลยีมาใช้กับเด็กปฐมวัย
เนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาสู่การใช้ในแง่ของการ เป็นเครื่องมือการเรียนรู้  ที่ผ่านกระบวนการการเล่นเหมือนเครื่องเล่นชนิดอื่นๆ  จึงมีข้อแนะนำในการนำเทคโนโลยีมาจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ดังนี้
1.  การนำเทคโนโลยีมาใช้กับเด็กปฐมวัยนั้นต้องพิจารณาในหลักของความสอดคล้องกับ หลักการสนับสนุนพัฒนาการของเด็ก  และสอดคล้องกับหลักสูตร  ตลอดจนการประเมินผลพัฒนาการตามวัตถุประสงค์การศึกษา  ครูต้องใช้ดุลยพินิจในการนำมาใช้ให้เหมาะสม  คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  และบริบททางสังคมของเด็กด้วย
2.  การพิจารณาด้านความเหมาะสมของเทคโนโลยีนั้น จะต้องช่วยพัฒนาการทั้งด้านสติปัญญาและทางสังคมควบคู่กันไป
3.  การนำเทคโนโลยีมาใช้ต้องนำมาใช้โดยการบูรณาการกับเครื่องมืออื่นๆ ในลักษณะของการเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้  และใช้เป็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก
4.  เทคโนโลยีมีความซับซ้อน  และมีศักยภาพสูง เช่น คอมพิวเตอร์  ครูจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการนำมาใช้ที่ชัดเจน  คือให้เป็นเสมือนเครื่องมือที่สนับสนุนการเรียนรู้  แต่มิใช่นำมาใช้ในลักษณะของการเป็นบทเรียน หรือ สาระความรู้ที่ผู้เรียนต้องเรียนอย่างเคร่งเครียด หรือเรียนเป็นระบบ
5.  นักการศึกษาปฐมวัยต้องเข้าใจว่า  เทคโนโลยีทางการศึกษานั้น  เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าในการสร้างเสริมการเรียนรู้ของเด็ก  โดยเฉพาะการส่งเสริมช่วงความสนใจ การแก้ปัญหา และการยอมรับเครื่องมือเครื่องใช้ในโลกปัจจุบัน  ดังนั้น จึงควรให้โอกาสเด็กทุกคนได้เข้าถึงเทคโนโลยี และรวมทั้งการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองในประเด็นนี้ด้วย
จะเห็นได้ว่า  การนำเทคโนโลยีมาใช้ในเด็กปฐมวัยนั้น  มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากโลกปัจจุบันและอนาคต  เป็นโลกแห่งเทคโนโลยี  และนับวันจะมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น  การนำเทคโนโลยีมาสู่เด็ก จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคย และรับรู้ว่า เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับเครื่องมืออื่นๆ ที่เขาสามารถทำความรู้จัก เข้าใจ และใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ได้  ข้อสำคัญ ครูและผู้ใหญ่จะต้องเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ดังกล่าวและไม่นำเทคโนโลยีโดย เฉพาะคอมพิวเตอร์มากำหนดเป็นบทเรียนสำหรับเด็ก รวมทั้งการกำหนดการใช้อย่างเหมาะสมกับเด็กทั้งด้านการเลือกซอฟแวร์ การกำหนดช่วงเวลาและลักษณะของการใช้  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้

ประวัติส่วนตัว

นาย วันเฉลิม จันทร์ศรี
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
โทร 0808703143
ทีอยู่ 17/1 ม4 ต สะท้อน